เชื้อราแมว คืออะไร
เชื้อราแมวมีหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นชนิด Microsporum canis เป็นเชื้อราที่ทำให้แมวเป็นโรคผิวหนัง เกิดจากความชื้นสะสม ทำให้แมวขนยาวมีความเสี่ยงเป็นเชื้อรามากกว่าแมวขนสั้น บริเวณของผิวหนังแมวที่ติดเชื้อ จะมีขนหลุดเป็นหย่อมๆ ผิวหนังแดง แห้ง และอาจลอกเป็นขุยๆ หรือตกสะเก็ดร่วมด้วย หากไม่รีบรักษาแล้วเจ้าของติดเชื้อราจากแมวผ่านการสัมผัส อุ้ม ลูบ กอด หอม ก็จะทำให้มนุษย์ติดเชื้อรานี้จนเป็นโรคผิวหนังในแบบเดียวกันได้
อาการของคนที่ติดเชื้อราแมว
จะพบว่ามีผื่นแดงเป็นวงๆ รอบๆ มีขุยๆ ขึ้นตามร่างกาย อาจพบว่าเป็นผื่นแดงๆ อันเล็กๆ หรืออันใหญ่ๆ อันเดียว หรืออาจเกิดขึ้นเป็นวงๆ หลายอันตามแขน ขา ใบหน้า มือ เท้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่สัมผัสกับแมว ผื่นแดงๆ ที่เกิดขึ้นจะทำให้รู้สึกคัน อยากเกาตลอดเวลา หากใช้นิ้วเกาที่ผื่นแดง แล้วไปเกาที่ผิวหนังส่วนอื่นต่อ อาจทำให้ผิวหนังส่วนนั้นๆ ติดเชื้อราจนเป็นผื่นแดงเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นจึงอาจทำให้มีผื่นแดงเพิ่มขึ้น หรือผื่นแดงขยายวงกว้างมากขึ้นได้
วิธีรักษาเชื้อราแมวในคน
การรักษาเชื้อราแมว ทั้งในแมว และในคนจะคล้ายๆ กัน คือการทายาฆ่าเชื้อรา ในกรณีที่มีผื่นแดงไม่มากนัก หากทายาอย่างต่อเนื่องราว 3 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้นได้เอง แต่หากพบว่าเป็นผื่นแดงหลายอันทั่วร่างกาย อาจจะให้ยาฆ่าเชื้อราไปทา ควบคู่ไปกับกานทานยาปฏิชีวนะ โดยต้องทายา และทานยาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 สัปดาห์เช่นเดียวกัน ผื่นแดงค่อยๆ หายไป แต่จะทิ้งรอยดำเอาไว้ราว 2-3 เดือนจนกว่ารอยดำเหล่านี้จะค่อยๆ จางหายไปเอง ในกรณีที่รอยจำไม่จางลง หรือจางช้า อาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีการเกิดผื่นแดงจากเชื้อราซ้ำ เพราะภูมิต้านทานของตัวผู้ป่วยเองไม่มากเพียงพอ รวมไปถึงการรักษาความสะอาด และการดูแลรักษาแมวของตัวเองให้หายขาดจากเชื้อราควบคู่กันไปด้วย หากแมวที่เลี้ยงยังคงเป็นโรคเชื้อราอยู่ เจ้าของที่คลุกคลีใกล้ชิดก็อาจจะกลับมาติดเชื้อราอีกครั้งได้เช่นกัน
การป้องกันจากเชื้อราแมว
1. หากพบว่าสัตว์เลี้ยงเป็นโรคผิวหนัง มีร่องรอยขนร่วงเป็นหย่อมๆ พบว่ามีผื่นแดง หรือรอยแดงๆ ขุยๆ เป็นวงที่ผิวหนังขิงสัตว์เลี้ยง ควรพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน
2. หลังเล่น สัมผัส หรือใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง ควรล้างมือ หรือทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสสัตว์เลี้ยงให้สะอาดทุกครั้ง (และควรทำความสะอาดทันที ไม่ปล่อยทิ้งไว้นาน)
3. ดูแลทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงอยู่เสมอ หลังอาบน้ำเช็ดตัว เป่าขนให้แห้งทุกครั้ง
4. ทำความสะอาดสิ่งของภายในบ้านที่สัตว์เลี้ยงสัมผัส เช่น โซฟา เก้าอี้ โต๊ะ หมอน ผ้าห่ม โดยเฟอร์นอเจอร์ที่เป็นผ้าๆ นวมๆ อาจนำไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อราได้
5. ไม่คลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิดมากเกินไป เช่น ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงเลียหน้าเลียปาก พาสัตว์เลี้ยงมานอนด้วยบนเตียงเดียวกัน เป็นต้น
6. ใช้แชมพู หรือครีมอาบน้ำที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราให้กับสัตว์เลี้ยง
7. นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อรา
8. เจ้าของสัตว์เลี้ยงก็ควรออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันร่างกายที่ดีอยู่เสมอ จะได้ไม่ติดเชื้อโรคได้ง่ายๆ
9. หากสงสัยว่าจะติดเชื้อราจากสัตว์เลี้ยง ควรไปพบแพทย์พร้อมนำสัตว์เลี้ยงไปด้วย
10. ระหว่างรักษาเชื้อรา ไม่ควรเข้าไปใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง เพราะอาจจะหายช้าหรือติดเชื้อซ้ำได้
ขอบคุณขอมูล : อ. นพ.สมศักดิ์ ตันรัตนากร สาขาวิชาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
"ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1" ต้อง Chess Broker "เรื่องประกันภัยไว้ใจเรา"
❤️สนใจทำประกันภัยรถยนต์ แอดไลน์แล้วทักมาคุยกันได้เลยค่า❤️
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
ประกันภัยรถชั้น 1 ราคาเริ่มต้นที่ 8,xxx บาท ให้ความคุ้มครองที่คุณต้องการ
บริษัท เชส โบรคเกอร์ จำกัด
โทร.092-866-6666